วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเงินส่วนบุคคล

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าหลักสำคัญของการเงินส่วนบุคคล คือ 1.การทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย 2.การทํางบประมาณค่าใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน 3.การทำงบดุลเพื่อดูสินทรัพย์และหนี้สินของเรา 4.การออมเงิน 5.การลงทุน (จากสิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมดผมไม่ได้เอามาจากที่ไหนนะครับ ผมเอามาจากตัวผมเองนี่แหละ เพราะผมทำอยู่) เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้วผมจะอธิบายต่อไปว่าสิ่งเหล่านี้ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดมันสำคัญกับชีวิตเราอย่างไร เราจำเป็นต้องทํามันหรือปล่าว (สำหรับคนอื่นผมไม่รู้ว่าจะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน แต่สำหรับผม ผมให้ความสำคัญมากเพราะมันจะเป็นสิ่งที่พาผมให้ไปถึงเป้าหมายที่ผมวางไว้) ผมจะอธิบายตามหัวข้อที่ผมได้บอกไว้นะครับ

1.การทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย
การทําบัญชีรายรับ-รายจ่ายผมถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผม เพราะเราต้องเริ่มจากการทําบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นอันดับแรกก่อนแล้วค่อยไปยังส่วนอื่นๆ เพราะถ้าเราไม่ทําเราจะไม่รู้เลยว่าในแต่ละเดือนเรารับมาเท่าไร จ่ายไปเท่าไร คุณเคยรู้สึกไหมว่า บางทีเราดูเหมือนว่าเราก็ไม่ได้ใช้จ่ายอะไรมากมายนะ แต่ทำมัยเงินมันหายออกจากกระเป๋าของเราไปเรื่อยๆ ซึ่งผมก็เคยเป็น มันเป็นเพราะอะไรก็เพราะว่าที่เราคิดมันเป็นแค่ความรู้สึกแต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะมันไม่ได้มีแต่ค่าใช้จ่ายประจำที่เราจะต้องจ่ายเท่านั้น แต่มันยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะมากมายที่เราต้องจ่ายออกไป ซึ่งบางครั้งเราแทบไม่รู้ตัวหรือจำไม่ได้เลยว่าเราจ่ายอะไรไปบ้างเพราะฉนั้นสิ่งที่สำคัญคือ การต้องจดบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละวันของเรา แล้วก็นำสิ่งที่เราจดมาทําบัญชีรายรับ-รายจ่ายส่วนตัว

ในการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ถ้าจะให้ดีเราควรแบ่งค่าใช้จ่ายต่างๆของเราออกมาเป็นหมวดหมู่เช่น
ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเราก็ต้องไปดูว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายประจำอะไรบ้าง เพราะค่าใช้จ่ายประจำของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อดีของการแบ่งหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายของเราก็คือ จะทําให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือน เราจ่ายอะไรไปบ้าง และ จ่ายไปเท่าไร ซึ่งมันจะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจลดค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เรารู้สึกว่าเราจ่ายกับสิ่งนี้มากจนเกินไป

2.การทํางบประมาณค่าใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน
ในการที่เราจะจัดทํางบประมาณได้นั้นหลักๆเราจะต้องรู้ใน2ส่วนนี้ั คือ 1.รายรับ เราต้องประมาณการรายรับของเราในแต่ละเดือนว่าเรามีรายรับอยู่ที่เท่าไร 2.รายจ่าย ในส่วนของรายจ่ายนั้นเริ่มแรก เราก็ต้องมาดูว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แล้วจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน หลังจากนั้นก็มาประมาณการว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนควรจะอยู่ที่เท่าไร ซึ่งไม่ควรเกินกว่ารายรับของเรา

3.การทำงบดุลเพื่อดูสินทรัพย์และหนี้สินของเรา
ก่อนอื่นผมขออธิบายคำว่าสินทรัพย์และหนี้สินในความหมายของผมก่อนนะคับ สินทรัพย์คือสิ่งที่ทำเงินให้กับผม หนี้สินคือสิ่งที่ทําให้ผมเสียเงิน (ความหมายของทั้งสินทรัพย์และหนี้สินผมเอามาจากหนังสือพ่อรวยสอนลูกนะคับ ) จากความหมายที่ผมกล่าวมาจะเห็นได้ว่า บางครั้ง บ้านก็ไม่ใช่ทรัพย์สิน ที่ดินก็ไม่ใช่ทรัพย์สิน นอกจากว่า บ้านกับที่ดินจะทําเงินให้กับผม ผมถึงจะนับได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผม ซึ่งมันอาจจะแตกต่างจากหลักการทางบัญชีอย่างสิ้นเชิง จุดประสงค์ของการทํางบดุลคือเพื่อดูว่าเรามีทรัพย์สินและหนี้สินอยู่เท่าไร

4.การออมเงิน
สมการการออมคือ รายรับ-เงินออม =รายจ่าย
พูดให้ง่ายก็คือ พอได้เงินมาปุ๊บ ก็ให้หักเป็นเงินออมเลย จะหักเท่าไรก็แล้วแต่ๆละคน แต่ถ้าจะให้แนะนำควรจะอยู่ที่ 10เปอร์เซ็น ของรายได้ การออมเงินควรฝึกให้เป็นนิสัย ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีเงินเก็บ แต่สำหรับผม ผมแบ่งการออมเงินเป็น 3 ส่วน คือ 1.เงินออม 2.เงินลงทุน 3.เงินบริจาค ถ้าเรามีรายได้ที่มากพอเกินกว่ารายจ่ายของเรา เราควรแบ่งเงินเป็น 70/30 หมายความว่าแบ่งเป็น ค่าใช้จ่าย 70 % , เงินออม10%,
เงินลงทุน10% , เงินบริจาค 10% ซึ่งจริงๆแล้วหลักของการออมของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับรายได้ และ ค่าใช้จ่าย แต่หลักสำคัญของการออมคือ ควรออมเงินไม่ต่ำกว่า10%ของรายได้

5.การลงทุน
การลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มเงินออมของเราให้มีมากขึ้น และคงมูลค่าเงินออมของเราไม่ให้น้อยลงไปเนื่องมาจากสาเหตุของเงินเฟ้อ ซึ่งการฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างเดียวนั้นคงไม่ใช่หนทางที่ดีนัก เพราะคงโดนเงินเฟ้อกินไปหมด เพราะฉนั้นเราควรหาช่องทางการลงทุนที่ให้อัตรผลตอบแทนที่เท่ากับหรือมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่นการลงทุนในตราสารทางการเงินต่างๆ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

สุดท้ายสิ่งที่อยากจะเน้นย้ำและสำคัญที่สุดนั้น ไม่ใช่ความรู้ที่เรามี แต่เป็นการลงมือทำต่างหาก โดยส่วนตัวผมคิดว่าความรู้ไม่สำคัญเท่ากับการกระทํา เพราะถ้าเรารู้แต่เราไม่ทําเราจะรู้ไปทำไมมันไม่มีประโยชน์ การ
กระทำคือการเรียนรู้ และการเรียนรู้คือการกระทำ หลายคนที่ไม่ประสบความสำเร็จไม่ใช่ไม่มีความรู้ แต่ไม่ลงมือทําต่างหาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น