“ Rich Dad Poor Dad “ by Robert T.Kiyosaki
พ่อแท้ๆ ของผู้เขียน มีตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมการศึกษาของรัฐฮาวาย ในหนังสือผู้เขียนเรียกว่า Poor Dad
ผู้เขียนมีเพื่อนที่สนิทมากตั้งแต่เด็กๆ ชื่อ ไมค์ และพ่อของไมค์เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในกิจการหลายๆ อย่าง จนมีอาณาจักรที่ใหญ่โต ในหนังสือผู้เขียนเรียกว่า Rich Dad
ตอนที่หนึ่งพ่อรวย – พ่อจน
พ่อทั้งสองของผู้เขียนต่างก็เป็นคนดี มีผู้เคารพนับถือมาก แต่มีคำสอนเรื่องการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันสุดขั้ว ผู้เขียนได้รับฟังคำสอนที่แตกต่างกันทั้ง 2 ด้านตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ทำให้ผู้เขียนต้องรู้จักวิเคราะห์พิจารณาในคำสอนตั้งแต่เด็ก
พ่อจน | พ่อรวย |
ความรักเงิน เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วร้าย |
การขาดเงิน เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วร้าย
|
คนรวยควรเสียภาษีมากๆ เพื่อช่วยคนจน |
ภาษีทำโทษคนขยัน ให้รางวัลคนขี้เกียจ
|
เรียนมากๆ จะได้ทำงานกับบริษัทที่มั่นคง |
เรียนมากๆ จะได้ซื้อบริษัทที่มั่นคง
|
พ่อไม่รวย เพราะพ่อมีลูก |
พ่อต้องรวย เพราะพ่อมีลูก
|
ห้ามพูดเรื่องเงินตอนทานข้าว |
ชอบคุยเรื่องเงินตอนทานข้าว
|
เรื่องเงินทองต้องปลอดภัยไว้ก่อน |
ต้องรู้จักวิธีจัดการกับความเสี่ยง
|
บ้าน เป็นการลงทุนและทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุด |
บ้าน เป็นหนี้สินที่ใหญ่ที่สุดและไม่ใช่การลงทุน
|
ชำระหนี้เป็นอันดับแรก |
ชำระหนี้เป็นอันดับสุดท้าย
|
ประหยัดทุกบาททุกสตางค์เพื่อสะสมเงิน |
ใช้ทุกบาททุกสตางค์เพื่อการลงทุน
|
สอนวิธีเขียนประวัติส่วนตัวอย่างไร จึงจะได้งานทำ |
สอนวิธีเขียนแผนธุรกิจอย่างไร จึงจะสร้างงาน
|
ชาตินี้ ไม่มีวันรวยแน่ |
คนรวย เขาไม่ทำกันอย่างนั้นหรอก
|
เงิน ไม่ใช่สิ่งสำคัญ |
เงิน คืออำนาจ
|
เรียน เพื่อทำงานให้ได้เงินเดือนสูงๆ |
เรียน เพื่อรู้วิธีใช้เงินทำงานให้เรา
|
พ่อ ไม่ทำงานเพื่อเงิน |
เงิน ทำงานให้พ่อ
|
ตอนที่สอง บทเรียนที่ 1 : คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน
ผู้เขียนได้รู้จักกับพ่อของไมค์ และขอร้องให้สอนวิธีหาเงิน
“ ถ้าเธออยากทำงานเพื่อเงิน เธอไปเรียนเอาที่โรงเรียน แต่ถ้าอยากเรียนวิธีใช้เงินทำงานให้เรา ฉันจะสอน"
“ การเรียนรู้วิธีใช้เงินทำงาน เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันชั่วชีวิต “
“ การขาดเงินนั้น แย่พอๆ กับการผูกติดกับเงินนั่นแหละ “
“ อย่าให้อารมณ์เป็นตัวกำหนดการกระทำ รับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องใช้สมองกำหนดการกระทำ “
ตัวอย่างการพูดจากอารมณ์
“ ต้องหางานทำให้ได้ ”
“ ฉันจะสอนให้เธอเป็นนาย ไม่ใช่เป็นทาสของเงิน ”
“ ที่สุดแล้วเราทุกคนเป็นลูกจ้าง แต่ในระดับที่แตกต่างกัน “
“ ฉันอยากให้เธอหลีกเลี่ยงกับดัก ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความกลัวและความโลภ “
“ ถ้าเราควบคุมความต้องการได้ เราจะมีเวลาคิดไตร่ตรองมากขึ้น “
“ หลายคนตั้งตารอวันเงินเดือนออก รอวันเงินเดือนขึ้น เพราะความกลัวและความต้องการ “
“ เราควรมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ความฝันและความสุข ไม่ใช่นอนก่ายหน้าผากกังวลว่าจะมีเงินให้ใช้ครบเดือนหรือไม่ “
“ ความเขลาไม่ใส่ใจเรื่องเงิน ทำให้เกิดความกลัวและความโลภ “
“ จำไว้ว่าการได้งานทำคือการแก้ปัญหาระยะสั้น ทุกคนคิดแค่วันเงินเดือนออก ปล่อยให้เงินมีอำนาจเหนือชีวิตพวกเขาจึงมีลักษณะคล้ายกันคือตื่นแต่เช้าไปทำงาน ไม่เคยหยุดคิดเลยว่า ‘มีวิธีอื่นที่ดีกว่ามั้ย’ “
ความคิดที่มาจากอารมณ์ที่ได้ยินบ่อยๆ
“ ทุกคนต้องทำงาน “
“ คนรวยขี้โกง “
“ ผมควรจะได้ขึ้นเงินเดือนมิฉะนั้นจะลาออก “
“ ฉันชอบงานนี้เพราะมั่นคง “
ความคิดที่ใช้สมอง
“ ฉันมองข้ามอะไรไปหรือเปล่า “
ตอนที่สาม บทเรียนที่สอง: ทำไมต้องรู้เรื่องเงินๆ ทองๆ
“ การมีเงินมากๆ นั้น ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักวิธีรักษาเงินให้อยู่กับเราตลอดไป “
“ พ่อจนจะเน้นให้อ่านมากๆ พ่อรวยจะบอกให้เรียนเรื่องเงิน “
กฏข้อที่-1 ต้องรู้ว่าอะไรคือทรัพย์สิน อะไรคือหนี้สิน
“ คนรวยเพิ่มทรัพย์สิน คนชั้นกลางเพิ่มหนี้สินโดยเข้าใจว่าเป็นทรัพย์สิน “
“ ถ้าอยากรวย ต้องอ่านให้เข้าใจตัวเลขและคำอธิบายเบื้องหลังนั้น “
“ ทรัพย์สินคือเงินใส่กระเป๋า หนี้สินคือเงินออกจากกระเป๋า “
รูปที่-3 การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนจน
งาน
รายได้ |
เงินเดือน
|
รายจ่าย |
ภาษี , อาหาร , ค่าเช่า ,เสื้อผ้า , สันทนาการ , เดินทาง
|
ทรัพย์สิน | หนี้สิน |
รูปที่-4 การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนชั้นกลาง
งาน
รายได้ |
เงินเดือน
|
รายจ่าย |
ภาษี , อาหาร , ค่าเช่า ,เสื้อผ้า , สันทนาการ , เดินทาง
|
ทรัพย์สิน | หนี้สิน |
เงินกู้บ้าน , สินเชื่อผู้บริโภค ,บัตรเครดิต
|
รูปที่-6 การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนรวย
รายได้ |
เงินปันผล , ดอกเบี้ย , ค่าเช่า, ค่าลิขสิทธิ์
|
รายจ่าย | |
ทรัพย์สิน | หนี้สิน |
หุ้น , พันธบัตร , ตั๋วสัญญาใช้เงิน , อสังหาริมทรัพย์ , ทรัพ์สินทางปัญญา
|
=== พ่อของไมค์ไม่ใช่นักวิชาการ แต่ความรู้เรื่องการเงินทำให้เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ===
“ คนที่ฉลาด ต้องรู้จักจ้างคนที่ฉลาดกว่ามาเป็นลูกจ้าง “
=== โรงเรียนมีไว้ผลิตลูกจ้างที่ดี ไม่ได้มีไว้ผลิตนายจ้าง ===
=== พ่อจนมองว่าบ้านเป็นทรัพย์สิน พ่อรวยมองว่าบ้านเป็นหนี้สิน ===
=== เครื่องวัดฐานะทางการเงินคือ ถ้าเราหยุดทำงานวันนี้ เราจะมีเงินประทังชีวิตต่อไปอีกนานเท่าใด ===
=== เป้าหมายชีวิตของผมคือ การมีอิสระจากภาระทางการเงินทั้งปวง ===
=== สมมติว่าผมมีทรัพย์สินที่ทำเงินได้เดือนละ 2000 เหรียญ และมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 2000 เหรียญ ผมสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินเดือนถึง 30 วัน ===
=== ขั้นต่อไปคือ การนำรายได้จากทรัพย์สินกลับไปลงทุนในช่องหนี้สิน เพื่อขยายขนาดช่องทรัพย์สินให้โตขึ้น ===
ตอนที่สี่ บทเรียนที่-3: เพิ่มทรัพย์สิน – ทำธุรกิจของตนเอง
เรย์ คร๊อก ผู้ก่อตั้งร้านแมคโดนัลเล่าให้นักศึกษาปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยออสติน ว่าตามแผนธุรกิจแล้วเขาขายเฟรนไชด์ของแมคโดนัล แต่มีเงื่อนไขที่ระบุถึงทำเลที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นคนที่ซื้อเฟรนไชด์ไปจะต้องซื้อทำเลทองด้วย นั่นคือเรย์ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง
=== อุปสรรค์ทางการเงินส่วนหนึ่ง มาจากการที่เรายอมทำงานเพื่อคนอื่นตลอดชีวิต ===
=== ถ้าไม่เอารายได้มาซื้อทรัพย์สิน คุณก็จะยังคงไม่มีความมั่นคงทางการเงินอยู่ต่อไป ===
=== รากฐานของคนชั้นกลางคือไม่กล้าเสี่ยง ทำให้ยึดติดอยู่กับเงินเดือนและงานที่ทำอย่างเหนียวแน่น เพราะที่นั่นเขารู้สึกว่า ‘ปลอดภัย’ ===
=== หลายคนไม่เคยคิดถึงข้อแตกต่างระหว่าง ‘อาชีพ’ & ‘ธุรกิจ’ ===
=== คำถาม ‘คุณทำธุรกิจอะไร’ ‘คุณทำอาชีพอะไร’ ===
ทรัพย์สินที่ผมแนะนำให้คุณสนใจไขว่คว้า & สอนลูกหลานให้รู้จัก ดังนี้
1. ธุรกิจที่ผมไม่ต้องนั่งเฝ้า เป็นเจ้าของแต่มีคนมาจัดการให้ดำเนินกิจการไปได้
2. หุ้น
3. พันธบัตร
4. กองทุนรวม
5. อสังหาริมทรัพย์
6. ตั๋วเงิน
7. ค่าลิขสิทธิ์จากเพลง จากงานแต่งหนังสือ จากงานแปล จากสิทธิบัตรต่างๆ
8. สิ่งอื่นที่มีมูลค่า สามารถสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่าด้วยตัวมันเอง
=== ผมแนะนำให้คุณทำงานประจำไป แล้วค่อยๆ สร้างธุรกิจด้วยการลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ทุกบาททุกสตางค์ที่ใส่ลงในช่องทรัพย์สินจงอย่าให้ไหลออกมา ให้เงินนั้นทำงานให้คุณ ===
=== จงมุ่งมั่นทำงานประจำให้เต็มที่ พร้อมๆ กับสร้างช่องทรัพย์สินของคุณให้ใหญ่โตขึ้น ===
=== คนรวยซื้อความสบายทีหลัง แต่คนชั้นกลางมักซื้อความสบายก่อน ===
=== คนรวยจะสร้างช่องทรัพย์สินให้ใหญ่โตพอที่จะสร้างรายได้กลับคืนมา แล้วจึงนำรายได้นั้นไปซื้อความสะดวกสบายอีกที ===
ตอนที่ห้า บทเรียนที่-4: ภาษี & ประโยชน์ของนิติบุคคล
=== บริษัทเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา แล้วรายจ่ายบางอย่างได้รับการยกเว้นภาษีด้วย ===
ทุกครั้งที่ผมจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้ จะกล่าวถึงหลักสำคัญของไหวพริบทางการเงิน 4 อย่าง ดังนี้
1. ความรู้ทางบัญชี - อ่านงบการเงินให้เป็น
2. ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน - ศิลปะของการใช้เงินทำงาน
3. ความเข้าใจตลาด - อุปสงค์และอุปทานในตลาด
4. ความรู้เรื่องกฎหมาย
=== คนรวยที่มีบริษัท มักทำดังนี้ 1) รายได้ à 2) รายจ่าย à 3) เสียภาษี ===
=== ส่วนลูกจ้างของบริษัท มักทำดังนี้ 1) รายได้ à 2) เสียภาษี à 3) รายจ่าย ===
ตอนที่หก บทเรียนที่-5: วิธีทำเงินของคนรวย
=== ในชีวิตจริง คนกล้ามักจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่คนที่มีแต่ความฉลาด ===
=== ถ้าจะเก่งเรื่องเงิน คุณต้องมีทั้งความรู้และความกล้า ===
=== ถ้าคุณมีความรูเรื่องเงิน คุณก็มีโอกาสจะเจริญก้าวหน้าไปอีกไกล แต่ถ้าคุณไม่รู้ โลกนี้จะเป็นโลกที่น่ากลัวสำหรับคุณ ===
=== เมื่อ 300 ปีก่อน เจ้าของที่ดินคือเจ้าของขุมทรัพย์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเจ้าของโรงงานและการผลิต ในปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารข้อมูลไร้พรมแดน ใครมึขอมูลมากที่สุดและทันสมัยที่สุดคือเจ้าของขุมทรัพย์ ===
=== เกมส์กระแสเงินสด ช่วยให้ผู้เล่นรู้จักวิเคราะห์ทางเลือก เช่น ถ้าหยิบได้เรือหมายถึงคุณต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากการซื้อเรือนั้นมา คำถมคือ ‘แล้วคุณจะทำอย่างไร’ ===
=== ผมดูคนเล่นเกมส์มากว่าพันคน ส่วนมากคนที่ออกจาก ‘สนามแข่งหนู’ ได้สำเร็จและเร็วที่สุด คือคนที่มีพื้นฐานความเข้าใจเรื่องตัวเลข & มีความคิดสร้างสรรค์ เขาสามารถมองเห็นตัวเลือกต่างๆ ได้ในทันที ===
=== เงินเล็กน้อย ย่อมกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ ถ้าคุณมีไหวพริบทางการเงิน ===
ไหวพริบทางการเงิน ประกอบด้วยทักษะ 4.ข้อใหญ่ๆ ดังนี้
1] ความเข้าใจ & ความสามารถในการอ่านตัวเลข
2] กลยุทธ์ในการลงทุน - ศิลปะในการใช้เงินทำงาน
3] การตลาด - อุปสงค์ & อุปทาน
4] กฎหมาย & กฎเกณฑ์ - ความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบทางบัญชี
=== อย่าลืมเอากฎหมายเรื่องภาษีมาใช้ให้มากที่สุด ===
=== มีนักลงทุนอยู่ 2 ประเภท พวกแรกชอบลงทุนแบบตรงไปตรงมา อีกพวกชอบพลิกแพลงสร้างสรรค์ ===
กว่าจะเป็นนักลงทุนประเภทชอบสร้างสรรค์ได้ จะต้องหมั่นฝึกฝนนานวันด้วยทักษะต่างๆ ดังนี้
1> ทำอย่างไร จึงจะมองเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น
2> ทำอย่างไร จึงจะได้เงินมาทำทุนโดยไม่ต้องกู้ธนาคาร
3> ทำอย่างไร จึงจะได้คนฉลาดมาเป็นลูกจ้าง
ตอนที่เจ็ด บทเรียนที่-6: ทำงานเพื่อเรียนรู้ - อย่าทำงานเพื่อเงิน
=== ผมอยากแนะนำให้คุณทำงานเพื่อประสบการณ์ & การเรียนรู้ที่คุณจะได้รับ มากกว่าเพื่อผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน และให้มองไปข้างหน้าว่าคุณยังขาดทักษะด้านใด แล้วเสาะแสวงหาเพิ่มเติม ===
=== สำหรับคนที่ลังเลใจว่าจะออกแรงแสวงหาทักษะใหม่ๆ ดีหรือไม่ ผมอยากให้คิดถึงเวลาที่คุณไปออกกำลังกาย ตอนที่ยากที่สุดคือการตัดสินใจว่า ‘จะไปดีหรือไม่’ ถ้าผ่านจุดนี้ไปได้แล้ว ที่เหลือสบายมาก ระหว่างออกกำลังกายคุณจะรู้สึกมีความสุข มีความภูมิใจในตัวเอง และเมื่อออกกำลังกายเสร็จคุณจะรูสึกดีใจที่ได้ตัดสินใจถูกต้อง ===
ตอนที่แปด ฟันฝ่าอุปสรรค
แม้ว่าจะมีความรู้และไหวพริบทางการเงิน แต่บางคนก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถทำให้ช่องทรัพย์สินโตขึ้นเพื่อเพิ่มกระแสเงินสดให้มากพอได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก
1) ความกลัว
2) ความคิดด้านลบ
3) ความขี้เกียจ
4) นิสัย
5) ความหยิ่งทะนงตน
สาเหตุข้อที่หนึ่ง:ต้องเอาชนะความกลัวว่าจะต้องเสียเงิน
=== ถ้ามีเงินน้อยแต่อยากรวย สิ่งที่คุณต้องทำคือ ‘โฟกัส’ ===
สาเหตุข้อที่สอง:ขจัดความคิดด้านลบ
=== ความกลัวโดยไม่มีเหตุผลทำให้เรากลายเป็นคนที่มองเห็นแต่ข้อเสีย ===
สาเหตุข้อที่สาม:ความขี้เกียจ
=== พ่อรวยสอนให้พูดว่า ‘ทำอย่างไรจึงจะซื้อได้’ ห้ามพูดว่า ‘ไม่มีปัญญาซื้อ’ ===
=== คำว่า ‘ไม่มีปัญญา’ จะก่อให้เกิดความรู้สึกเศร้าหมอง
คำว่า ‘ทำอย่างไร’ สร้างความกระตือรือร้น ความตื่นเต้น ต้องคิดเพื่อหาคำตอบ ===
=== หากปราศจากกิเลศ ขาดความต้องการที่จะสร้างชีวิตให้ดีขึ้น โลกจะพัฒนาได้อย่างไร ===
=== คราวนี้เมื่อใดที่คุณพบว่าตนเองกำลังหลีกเลี่ยงสิ่งที่ควรกระทำก็ให้ถามตัวเองว่า ‘แล้วเราจะได้อะไรจากการกระทำ
นี้บ้าง’ เติมความอยากลงไปสักนิด จะได้ขจัดเอาความขี้เกียจออกไปจากตัวคุณได้ ===
สาเหตุข้อที่สี่:อุปนิสัย
=== พ่อจน มักจ่ายเงินให้คนอื่นก่อน เหลือเท่าไรจึงให้ตัวเอง ===
=== พ่อรวยสอนว่า ควรจ่ายให้ตัวเองก่อน ทีนี้ก็จะมีความกดดันที่จะต้องหาเงินมาจ่ายภาษีและเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ได้ ความกดดันนี้จะทำให้คุณคิดหาแหล่งรายได้เพิ่มขึ้น และทำทุกวิถีทางที่จะไม่ให้เจ้าหนี้มาโวยวายใส่หน้าคุณได้ ===
=== ถ้าจ่ายให้ตัวเองหลังสุด ไม่มีความกดดันก็จริง แต่จะไม่มีอะไรเหลือเลย ===
สาเหตุข้อที่ห้า:ความหยิ่งทะนงตน
=== ความรู้ทำให้ได้เงิน ความไม่รู้ทำให้เสียเงิน ===
=== จงขวนขวายหาความรู้จากหนังสือ หรือจากผู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ===
ตอนที่เก้า เริ่มต้นอย่างไรดี
บัญญัติ 10.ประการที่จะช่วยให้คุณมีพลัง
1] พลังใจ: เพื่อจะเอาชนะความจริงที่ขวางหน้า
=== หลายคนอยากรวย แต่เมื่อหันมามองความจริงเขากลับท้อแท้ และคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ เป็นลูกจ้างขยันทำงานไปวันๆ ดูจะง่ายกว่าเยอะ ===
=== ถ้าพลังความอยากของคุณยังไม่แรงกล้าพอ หนทางแห่งความเป็นจริงก็ยังอีกยาวไกล ===
=== ถ้าคุณขาดพลัง ขาดความมุ่งมั่น อะไรๆ ในชีวิตก็กลายเป็นเรื่องยากไปหมด ===
2] เสรีภาพในการเลือก
=== เมื่อมีเงินอยู่ในมือ คุณมีสิทธิ์ที่จะเลือกอนาคตของคุณว่าจะเป็นคนรวย ชั้นกลาง หรือคนจน
นิสัยการใช้เงินสะท้อนให้เห็นตัวตนของเรา คนจนใช้เงินอย่างไม่ฉลาด ===
=== หลายครอบครัวสูญเสียทรัพย์สินเมื่อตกมาถึงรุ่นลูก เพราะไม่เคยสอนให้ลูกหลานรู้จักวิธีดูแลรักษา ===
=== คนจำนวนมากเลือกที่จะไม่รวย ส่วนใหญ่คิดว่ากว่าจะรวยเป็นเรื่องยุ่งยากเกินไปสำหรับเขา
มักชอบพูดว่า ‘ฉันไม่สนเรื่องเงินๆ ทองๆ หรอก’ ‘ไม่เห็นอยากรวยเลย’ ‘จะคิดให้ปวดหัวทำไม อายุยังน้อยแค่นี้’
‘ผมให้แฟนดูแลเรื่องเงิน ผมไม่ยุ่งหรอกครับ’ ===
=== คำพูดเหล่านั้นทำให้คุณสูญเสียประโยชน์ 2 อย่าง คือ เวลา & การเรียนรู้ ===
=== คุณมีสิทธิ์เลือกใช้เวลา ใช้เงิน และใช้สมองอย่างไรก็ได้ ===
=== ไม่มีเงิน ใช่ว่าคุณจะต้องหยุดการแสวงหาความรู้ ===
=== คนที่คิดว่าตนเองฉลาดแล้ว เก่งแล้ว มองอีกมุมหนึ่งคือคนที่ไม่กล้าเสี่ยง กลัวความผิดพลาด ===
=== คนฉลาดที่แท้จริง มักชอบฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะนำความคิดจากหลายๆ ด้านมาวิเคราะห์ประกอบเป็นความคิดใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ ===
3] เลือกคบเพื่อนด้วยความระมัดระวัง
=== เพื่อนที่เป็นกลุ่มคนมีเงิน มักคุยแต่เรื่องเงินๆ ทองๆ เรื่องการลงทุน เรื่องเศรษฐกิจ ===
=== ในกรณีที่คุณเล่นหุ้น บางครั้งก็จะมีข้อมูลวงในจากการพูดคุยกับเพื่อนกลุ่มนี้ ===
=== ในธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ หลักสำคัญที่ต้องจำไว้คือคุณต้องมีความมั่นใจในตนเองโดยไม่โอนอ่อนผ่อนตามเสียงข้างมาก กว่าจะเป็นข่าวหน้าหนึ่งคนอื่นก็เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปจนหมดแล้ว ===
4] สร้างสูตรและเรียนสูตรใหม่ๆ: ประโยชน์จากการเรียนให้เร็วที่สุด
=== สูตรเดียวที่สอนเกี่ยวกับเรื่องเงินในโรงเรียน คือ ‘ทำงานเพื่อเงิน’ ===
=== ในสังคมปัจจุบัน ความได้เปรียบไม่ได้อยู่ที่คุณรู้อะไรแต่อยู่ที่คุณเรียนรู้สูตรใหม่ๆ ได้เร็วแค่ไหน ===
5] ชำระหนี้ให้ตัวเองเป็นอันดับแรก: ประโยชน์จากการควบคุมตัวเอง
=== ถ้าคุณไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คุณไม่มีวันรวย ===
=== มี 3.ทักษะที่สำคัญสำหรับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจของตนเอง ดังนี้
1) การบริหารกระแสเงินสด 2) การบริหารบุคคลากร 3) การบริหารเวลา
=== นิสัยไม่ดีที่คนชั้นกลางชอบทำคือการแคะกระปุกแล้วเอาเงินออมมาชำระหนี้ ===
=== ถ้าอยากเป็นคนรวยต้องรู้ว่า เงินออมมีไว้เพื่อขยายช่องทรัพย์สิน ไม่ใช่มีไว้จ่ายหนี้ ===
6] เลี้ยงนายหน้าของคุณให้ดี: ประโยชน์จากคำแนะนำที่ดี
=== นายหน้าทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้คุณ คอยติดตามสถานการณ์เพื่อคุณจะได้มีเวลาไปตีกอล์ฟ ===
=== เชื่อหรือไม่ว่าคนจำนวนมากให้ทิปพนักงานเสริฟอาหารร้อยละ 15~20 ทั้งๆ ที่บริการไม่ได้ประทับใจนักหนา
แต่กลับลังเลที่จะจ่ายค่านายหน้าเพียงร้อยละ 3~7 ===
=== ทำไมเราทิปคนในช่องรายจ่าย มากกว่าคนในช่องทรัพย์สิน ===
7] จงเป็นผู้ให้: ประโยชน์จากการได้เปล่า
=== นักลงทุนที่ฉลาดควรมองหาอะไรที่มากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน นั่นคือทรัพย์สินที่ได้หลังจากได้เงินลงทุนครบถ้วนแล้ว นี่แหละคือไหวพริบทางการเงิน ===
8] ทรัพย์สินซื้อความฟุ่มเฟือย: ประโยชน์จากการ ‘โฟกัส’
=== เริ่มสอนลูกหลานและคนที่คุณรักเรื่องไหวพริบทางการเงินเสียแต่เนิ่นๆ ถ้าขาดไหวพริบทางการเงิน เงินจะฉลาดกว่าคุณ เพราะคุณอาจต้องทำงานเพื่อเงินไปตลอดชีวิต ===
9] ความจำเป็นต้องมีพระเอกในดวงใจ: ประโยชน์ของจินตนาการ
=== วิธีนี้ทำให้ผมมีพลังพิเศษ เหมือนแรงดลใจที่ทำให้รู้สึกว่าไม่มีอะไรยากเกินไปสำหรับเราคนอื่นทำได้เราก็ต้องทำได้ ===
10] สอนผู้อื่นแล้วคุณจะได้รับตอบแทน: อานิสงส์แห่งการให้
=== ผมต้องการมีเครือข่าย ผมแนะนำให้คนโน้นรู้จักกับคนนี้ ในทีสุดผมก็มีเครือข่ายกับคนจำนวนมาก ===
=== ไม่ว่าจะเป็นเงิน ลูกค้า ความรัก ความสุข ธุรกิจ คุณต้องเริ่มต้นด้วยการให้ ถ้าไม่มีใครยิ้มให้ผม ผมก็จะยิ้มให้เขาก่อน ===
ตอนที่สิบ ข้อควรทำ
บางคนคิดแต่ไม่ทำ บางคนชอบทำโดยไม่คิด คุณควรจะอยู่ตรงกลาง
1) หยุดทุกอย่างแล้วพิจารณาว่าอะไรทำไปแล้วได้ผล อะไรทำไปแล้วไม่ได้ผล
2) มองหาความคิดใหม่ๆ
3) หาคนที่มีประสบการณ์ หรือที่เคยลงทุนแบบที่คุณสนใจ
4) สมัครเข้าสัมมนา อบรม หรือเรียนพิเศษ
5) เสนอราคา เพิ่มทางถอยไว้ด้วย ‘ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของหุ้นส่วน’
6) เดิน วิ่งออกกำลัง หรือขับรถยนตร์ ผ่านบางพื้นที่สักเดือนละครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
7) เรียนรู้เรื่องการเล่นหุ้น
8) ทำไมผู้บริโภคจึงไม่รวย
9) หาให้ถูกที่
10) ผมมองหาคนต้องการซื้อก่อน แล้วจึงมองหาคนต้องการขาย
11) เรียนรู้จากประวัติศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น