วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผู้บริหารยังไว้ใจระบบการศึกษาแบบ 1.0 อยู่หรือ ?

          ผู้บริหารยังไว้ใจระบบการศึกษาแบบ 1.0 อยู่หรือ ? 
          ผมเคยคุยกับCEO ชาวญี่ปุ่น พวกเขาบอกว่า องค์กรใดไว้ใจบัณฑิตสมัยใหม่นี้ ก็จะมีแต่หายนะ เพราะบัณฑิตสมัยนี้ คิดไม่เป็น ทํางานไม่เป็น ดังนั้นพวกเขาจึงต้องมีวิธีการคัดเลือกคนในแบบของเขาเอง เช่น ไม่ดูใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) เลย
          HRD ยุคใหม่ จะไม่ยอมรับผลผลิตทางการศึกษาแบบยุคอุตสาหกรรม พวกเขาเชื่อว่า

  •           ไร้คุณภาพ : มีคนได้ปริญญาโท เอก เต็มบ้านเต็มเมือง แค่พวกเขาทํา "แบบสอบถาม" (Questionaire) แล้วออกไปถาม จริง ๆ บ้าง มั่วๆ กรอกมาบ้าง แล้วกลับมาสรุป มาเล่าให้คณะอาจารย์ฟังแค่เนี้ย จบแล้ว!!! หรืที่แย่กว่านั้นคือ ใคร"จ่ายครบ จบแน่นอน" เรียนให้ครบก็จบแล้ว
  •           ระบบตัดเกรดดีจริงหรือ ? : ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนเรียนได้เกรดเอ ก็คือคนที่คิดตรงกับอาจารย์ของเขา แต่ถ้าถามต่อไปอีกว่า แล้วอาจารย์ของเขาล่ะ  เก่งไหม ทําอะไรเป็นไหม หนีโลกทํางานหลบมาสอนหนังสือหรือเปล่า ทํางานไม่เป็น ได้แต่เอาวิชาการซึ่งล้าสมัย ไม่ตรงกับสมัยมาสอนอยู่นั้นแหละ สอนเรื่องที่ไม่ตรงกับการใช้งานจริงๆ ดังนั้น เกรดเอ ไม่ได้แสดงว่าศิษย์เก่ง ในเมื่อต้นแบบคือมาจากอาจารย์ที่ไม่เก่ง

              ระบบการศึกษาในหลายๆประเทศที่เจริญแล้ว ยกเลิกการตัดเกรด แต่เปลี่ยนมาเป็นการใช้ Dialogue สลับกับการเรียนรู้ใช้การทํางานจริงๆื สลับกับการมาเข้ากลุ่มเรียนรู้ และให้ชุมชนเป็นคนตัดสินว่า ควรได้รับปริญญา ไม่ใช่พวกอาจารย์คิดเองเออเอง ให้ปริญญาเอง

              หลายแห่งดูจาก "จิตอาสา" รวมไปถึงเชิญอาจารย์ของผู้สมัครมาร่วมสัมภาษณ์ด้วย เพราะเขาอยากให้พวกอาจารย์ตอบคำถามด้วย คือเราจะดูที่สติปัญญาของอาจารย์พวกเขาด้วย ดูความสัมพันธ์ของศิษย์และอาจารย์ด้วย เรายิงคำถามหลายๆคำถาม เราก็จะเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ความเป็นไปได้ของทั้งคู่..... ตัวอาจารย์เองเมื่อสอบตก หรือศิษย์สอบตก จะได้กลับไปปรับหลักสูตร ปรับวิธีการสอนใหม่ ไม่งมโข่งแบบเดิมๆอีก
  •           คิดไม่เป็น ใจไม่กว้าง : การเรียนการสอนใน สถานศึกษายังเป็นแบบ 1.0 คือ เหมือนอาจารย์ของพวกเขานั่นเอง เช่น คิดไม่เป็น เครียด เห็นแก่ตัว ไม่มีจิตอาสา เผด็จการในห้องเรียน ถ้าเรารับเด็กแบบนี้มาทํางาน เราก็ต้ิองปรับแก้อีกเยอะมาก เข้ามาสร้างปัญหาในองค์กรเยอะมาก ดังนั้นเราไม่มีการดู Transcript เสียเลยจะดีกว่า เปลี่ยนไปเป็นทํางานไปด้วย เรียนไปด้วยกับเรา ตั้งแต่ปีสาม ปีสี่ดีกว่า เพื่อให้พวกเราได้มีโอกาสสังเกต ร่วมสอน ร่วมพัฒนา ตั้งแต่ต้น
  •           สอนแต่ตำราไม่ได้ดัดสันดานลูกศิษย์มาให้เราเลย : ดังนั้นการคัดเลือกพนักงานสมัยใหม่ จะไม่มีการสัมภาษณ์แบบเดิมๆ เพราะเราเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกคน เป็นการให้พวกเขามาทํางานกับเราตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ และให้คนของเราดูนิสัย ดู KBI (Key Behavior Indicator)
    จากการทํางานจริงๆ จากวง Dialogue ดูทัศนคติ และอื่นๆ..... เราเชื่อกันว่า วันสัมภาษณ์เป็นวันที่คนๆหนึ่งจะโกหกได้มากที่สุด ดังนั้นไม่มีสัมภาษณ์เลย แต่อาศัยการอยู่ร่วมกันมานาน เห็นกันตั้งแต่เด็กๆ
  •           ยังใช้การบรรยายอยู่นั้นแหละ : ถ้าพวกครูอาจารย์ยังวัดผลจากการท่องจำ ทำข้อสอบได้ เรา็ก็ถามตนเองว่า ถ้าเช่นนั้นจะเข้าเรียนไปทําไม เรามีระบบคอมพิวเตอร์ให้คนของเราเรียนเองในเครื่อง ก็ได้ ค้นคว้าเองก็ได้ พวกครูอาจารย์ทําตัวไม่ต่างจากเครื่องจักร สอนตามตำรา  ไม่มีประสบการณ์จริง จำคนอื่นมาเล่า งานวิจัยก็ไม่ตรงกับงานของเรา ไม่มีวงจรเรียนรู้ ไม่มี Dialogue ดังนั้นการสอนเรื่องพื้นฐาน เรื่องต้องจำ เราใช้ระบบคอม สอนแทนก็ได้

              การศึกษาสมัยใหม่ใช้หลักการ เช่น ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (ดูจริตผู้เรียน ดูศักยภาพของผู้เรียน ดูองค์รวมของผู้เรียน ทําเพื่อประโยชน์ของผู้เรียน) ซึ่งหลักการนี้ เข้ามาเมืองไทยนานมากแล้ว แต่ยังไม่เห็นเหล่าครูอาจารย์แสดงให้ดูชัดๆเลยว่าสามารถทำได้จริง

              การศึกษาสมัยใหม่ เน้์นการทําจริงสลับกับการ Dialogue เน้นการเรียนรู้เชิงประจักษ์ (Action learning) ใช้หลักการเอาโจทย์มาตั้งแล้วสืบค้น แก้ปัญหา (Problem based learning) ใช้วงจรเรียนรู้แบบโนนากะ เป็นต้น ซึ่งหากใครเป็นผู้บริหาร หรือทํางานด้านฝึกอบรม หากไม่คุ้นเคย ไม่มีทักษะเรื่องการศึกษาสมัยใหม่ ท่านยังเป็นพวก 1.0 อยู่เลยนะ
  •           สอนแบบสุนัขหางด้วน : ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านเปรียบการศึกษาในยุคนี้ว่า เป็นแบบ "สุนัขหางด่วน" คือหลงว่าตนเองมีหาง พยายามจะโชว์ว่าหางสวย แต่จริงๆ แล้วหางด้วน ด้วนแล้วยังนึกว่าไม่ด้วน นั่นคือครูอาจารย์และผู้นำทางการศึกษา "หลงตนเอง"  "หลงวัตถุ"  "ไหลไปกับโลกธรรม 8" ไม่เข้าใจเรื่องการศึกษาอย่างแท้จริง ผูกขาดว่าฉันรู้เรื่องการศึกษาแต่กลุ่มเดียว ไม่ปรึกษาคนอื่น คิดเองเออเอง คิดแทนคนอื่น (และคิดผิดๆ อีกต่างหาก) ไม่กระจายความรับผิดชอบเรื่องการสอนให้สังคมและชุมชน ชอบทําเรื่องให้ดูยากๆ เพื่อจะทําให้ผู้อื่นต้องพึ่งพาพวกเขา ขาดพวกเขาไม่ได้ โดยพวกเขา (ไม่ทุกคน) ไม่รู้ว่า สิ่งที่เราต้องการจริงๆ ในการศึกษาคือการทําให้ผู้เรียนมีปัญญา 3 ที่เรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หรือที่ผมเขียนเอาไว้ในหนังสือ "ฉลาด.....ได้อีก" เป็นเรื่องของปัญญากาย ปัญญาใจ และปัญญาคิด
  •           รู้ลึกโง่กว้าง : ผลผลิตทางการศึกษาในสมัยนี้ ตกต่ำ บัณฑิตไม่มีจิตอาสา ไม่มีจิตสาธารณะ ไม่มีศิลปะ ไม่สนใจรากเหง้าภูมิปัญญาเดิม ไม่มีสติ ในการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยพบว่า มหาวิทยาลัยของไทยได้อันดับต่ำมากๆ คือ เกือบที่ 200 ในเอเชีย... แพทย์เวียดนาม เกาหลี ไต้หวัน ลาว เป็นต้น ต้องเรียนจบแพทย์โบราณก่อนค่อยมีสิทธิ์สอบเข้าแพทย์ตะวันตก แพทย์ไทยเก่งครึ่งเดียว คือรู้แต่ตะวันตกเท่านั้น.... วิศวกรไทยเก่งแต่ซื้อของต่างขาติ ประกอบเก่ง แต่สร้างเทคโนโลยีเองไม่ได้ มีแต่ซื้อๆๆๆ ถ้าเป็นแบบนี้ในอนาคตพวกผู้จ้างงานก็จะจ้างแพทย์ วิศวกร ต่างชาติมากขึ้น เพราะเจ้านายในเมืองไทยอีกหน่อยก็จะเป็นคนต่างชาติอยู่แล้ว... คณะบริหารจัดการในประเทศไทย ยังไม่มีงานวิจัยเด่น ยังไม่มีนวัตกรรมการบริหารเด่นๆออกมาเลย ม่แต่เอาชุดความรู้ด้านบริหารของต่างขาติมาสอน เช่น KPI / BSC ก็เอาเขามาทั้งนั้น
  •           องค์กร ชุมชน  ควรพึ่งพาตนเองดีกว่า และผลิตบัณฑิตเองดีกว่า : ในเมื่่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ "คนสร้างปัญหาพยายามจะแก้ปัญหา" ดังนั้นไม่มีทางที่การปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จลงได้ มีแต่จะเพิ่มปัญหา ยิ่งแก้ยิ่งยุ้ง ดังนั้นผู้ใช้บัณฑิต คนในองค์กร ในชุมชน คงจะรอคนพวกนี้แก้ไขอะไรไม่ได้ พวกเขาจึงเปิดโรงเรียนของเขาเองในโรงงาน ในชุมชน ตั้งแต่อนุบาล นั่นคือสร้างคน พัฒนาคนขึ้นมาเองดีกว่า ดีกว่าปล่อยให้คนเหล่านี้ไปเสียเวลาในห้องเรียน ในระบบ .... เด็กในชุมชนมากมายเสียเวลา เสียเงินทองไปมากมาย สุดท้ายก็ละทิ้งชุมชนไปทํางานในเมือง แออัดในเมือง ทอดทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่างชาติ และนายทุนงงๆ เค็มๆ เข้ามาแย่งอาชีพ แย่งที่ทํากิน ยัดเยียดขายสารเคมี แต่เหล่าผู้นำทางการศึกษายังจะเอาแต่โฆษณาว่า มาเรียนกับฉัน เรียนฟรีนะ มีทุนนะ บังคับให้เด็กเรียนถึงมัธยมปลาย โดยไม่รู้ว่า กำลังสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหาให้องค์กรและชุมชน
  •          ผู้นำทางการศึกษาทำเพื่อตนเองมากกว่าเพื่อผู้เรียน: ในอนาคตอันใกล้นี้ จำนานเด็กจะน้อยกว่าจำนวนที่นั่งในมหาวิทยาลัย เพราะตอนนี้เหล่าผู้นำทางการศึกษาขยันเปิดๆๆๆ คณะใหม่หลักสูตรใหม่ วิทยาเขตใหม่ สร้างตึกกันใหญ่ ขยายวิทยาเขตกันใหญ่ แต่อีกหน่อยเถอะ จะมีแต่เก้าี้อี้ว่างๆ... ว่ากันว่าในอนาคตระบบมหาวิทยาลัยจะปิดตัวลง ผู้คนจะสร้างระบบการศึกษาขึ้นมาเอง ชุมชนจะสอนกันเอง อาชีพต่างๆจะสร้างคนขึ้นมาเอง การเรียนการสอนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะมีการเรียนข้ามชาติผ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผู้คนจะออกไปเรียนต่างประเทศมากขึ้น เพราะเรียนเมืองไทย ภาษาก็ไม่ได้ดีนัก ความคิดก็ถูกปิดกั้น หลักสูตรก็ไม่ตรงกับที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ เรียนแบบเครียดมาก ไม่ใช่เครียดกับวิชาการนะ แต่เครียดกับอารมณ์ของครูอาจารย์ที่ระเบิดใส่พวกเขามากกว่า เรียนแบบไม่มีสุนทรียสนทนาเลย "คิดต่างจากครูคือสอบตก"...เผ่นไปเรียนเมืองนอกดีกว่า..... ผู้นำทางการศึกษายังเป็น1.0อยู่เลย ไม่แสดงผลงาน เน้นแสดงวิสัยทัศน์แบบเดิืมๆ ฉันเก่ง ฉันคิดเองเออเอง ไม่ไว้ใจให้ชุมชนและองค์กรร่วมคิด ร่วมปรึกษา ยังติดนิสัยอาจารย์แบบ 1.0 คือ "พูดเก่ง ผลงานน้อย ข้ออ้างเยอะ"
  •           องค์กรใดที่ไม่ไหวตัว ก็รับผลผลิตการศึกษาแบบ 1.0 ไปก็แล้วกัน: สุดท้ายก็จะกลายเป็น "กบในหม้อต้ม" ไปในที่สุด พวกที่มองการณ์ไกล ไหวตัวทัน หมดศรัทธาการศึกษาในระบบ ก็จะหันมาพึ่งพาตนเอง พัฒนาคนเองมากขึ้นเรื่อยๆ
  •           ชุมชนพอเพียง ชุมชนสมัยใหม่ ไม่สนใจการศึกษาในระบบ : พวกเขาปฏิรูปการศึกษาด้วยการส่งลูกหลานเรียนในระบบแค่ประถมหกก็พอ ที่เหลือเรียนจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ท้องถิ่น เรียนแบบ AAR มีระบบ Internet ใช้แล้ว เรียนในชุมชน พัฒนาชุมชน ไม่หนีเข้าเมือง ทอดทิ้งถิ่นฐาน ไม่ต้องไปเป็น "มนุษย์เงินเดือน" ในเมืองอีกแล้ว นี่แหละ คือ พอเพียง พอประมาณ (ไม่โลภ ไม่ถล่มทรัพยากร ไม่งก ไม่เค็ม) มีเหตุผล (มีสติ มีปัญญา) มีภูมิคุ้มกัน (พึ่งพาตนเอง ได้ทั้งอาหาร ยารักษาโรค สุขภาพ พลังงาน สติ รู้ทันกิเลส รู้ทันพวกงงๆ เค็มๆ) ใฝ่รู้ (เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้) คุณธรรม (ทาน ศีล ภาวนา)

              ประเทศเพื่อนบ้านของไทยให้โรงเรียนในระบบครอบงำเด็กๆแค่วันละ 3 ชั่วโมง จันทร์ถึงศุกร์เท่านั้น นานาชาติเริ่มเห็นภัยของความเครียดทางการศึกษาแล้ว....เห็นภัยของการทิ้งท้องถิ่นมาเอาปริญญารับใช้ผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมและโลก

              ผู้นำทางการศึกษาของญี่ปุ่นคิดนานถึง 4 ปี ถึงประกาศให้บางเขต เรียนแค่ครึ่งวันก็พอ หรือเรียนแค่ 4 วันก็พอ พวกเขากล้าคิด กล้าลอง... ปัจจุบันนี้สถานศึกษาหลายแห่งทั่วโลกมีสิทธิ์สอนนักเรียนได้แค่ครึ่งวัน ส่วนตอนบ่ายต้องปล่อยให้เรียนตามอัธยาศัย ให้รับใช้สังคม ชุมชนแลัครอบครัว ซึ่งเวียดนาม จีน เกาหลี ใต้ บาหลี และอื่นๆ ทําไปนานแล้ว

ที่มา: จากหนังสือ HRD 3.0 พัฒนาคน พัฒนาใจ เติมหัวใจให้องค์กร
ผู้แต่ง: ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น